ในกรณีที่ต้องทำงานร่วมกันหลายๆ คน หรือในการออกแบบโต๊ะให้เหมาะสมกับคนทั่วไป สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ ความสูง ความกว้างและความลึกของโต๊ะ ข้อมูลในการออกแบบนั้นนำมาจากการใช้ค่าสัดส่วนมาตรฐานของคนในแต่ละประเทศนั้นๆ โดยใช้ค่าประมาณของคนตัวเตี้ย และคนตัวสูงแล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม การออกแบบโต๊ะในประเทศไทยอาจไม่เป็นไปตามที่กล่าวมา เนื่องจากค่าสัดส่วนมาตรฐานของคนไทยยังมีไม่ครบในทุกกลุ่มอายุและภูมิภาค และเป็นข้อมูลเก่ามากกว่า 10 ปี สัดส่วนของโต๊ะทำงาน และอุปกรณ์ต่างๆ จึงมาจากสัดส่วน ของคนต่างชาติ ที่อาจไม่เหมาะสมกับคนไทย
สำหรับความสูงของโต๊ะทำงาน จะถูกออกแบบให้คนตัวสูงเป็นหลัก เพราะตามหลักการคนสูงไม่สามารถสอดขา เข้านั่งได้ถ้าโต๊ะนั้นเตี้ย และจะไปตัดขาคนสูงเพื่อให้นั่งได้ ก็ไม่สามารถทำได้อีก แต่ในทางตรงกันข้าม คนที่ตัวเตี้ย ถ้าใช้โต๊ะที่สูง ก็สามารถที่จะปรับเก้าอี้ให้สูงแล้วหาที่ พักเท้ามารองได้
ถ้าพิจารณาความลึกของโต๊ะ และความสูงของชั้นวางของที่อาจมีประกอบเข้ามาในโต๊ะบางตัว ความลึกของโต๊ะและความสูงของชั้นวางนั้นจะต้องถูกออก แบบให้คนที่เตี้ยหรือคนที่มีแขนสั้น เหตุผลเพราะคนตัวสูงแขนยาวสามารถหยิบของได้ในทุกจุด (ถ้าโต๊ะนั้นออกแบบให้คนตัวสูง) คนที่ตัวเตี้ย จะไม่สามารถเอื้อมหยิบของในโต๊ะที่ลึกหรือในชั้นที่สูงๆ ได้ การต่อเก้าอี้อาจทำให้การทำงาน ล่าช้าได้อย่างไรก็ตาม ถ้าโต๊ะทำงานหรืออุปกรณ์ต่างๆ มีผู้ที่ใช้อยู่เพียง ผู้เดียว สัดส่วนที่นำมาใช้ก็คือ สัดส่วนของผู้ที่ใช้โต๊ะหรืออุปกรณ์ ต่างๆ นั้น